ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

โรงพยาบาลวังน้ำเขียว ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น

ผู้ป่วยนอก (Out-Patient-Department : OPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยใน (In-Patient-Department : IPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดการเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมตัวเข้ารับการรักษา ดังนี้

ผู้ป่วยที่เคยลงทะเบียนกับทางโรงพยาบาล

1. นำบัตรนัดมาพบแพทย์ตามวันและเวลานัด
2. หากยังไม่มีนัด ต้องการตรวจในเวลา เตรียมบัตรประชาชน บัตรประจำตัวผู้ป่วย มารับบัตรคิวที่ห้องบัตร

หมายเหตุ
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการรักษาเดิมที่โรงพยาบาลวังน้ำเขียว ให้เตรียมประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมรวมทั้งชื่อยาที่รับประทานประจำมาด้วย
2. กรณีผู้ป่วยผิดนัด (มาก่อนหรือหลังนัด และไม่มีอาการ) กรุณาโทรแจ้งล่วงหน้า 1-3 วัน ก่อนวันนัด เพื่อพบแพทย์ผู้รักษาคนเดิม

กลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังน้ำเขียว เปิดให้บริการหน่วยตรวจแก่ประชาชนทั่วไป ดังนี้

  • หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกทางอายุรกรรม
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ARI Clinic
  • คลินิกแพทย์แผนไทย
  • กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม

โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยเดิมของโรงพยาบาลวังน้ำเขียว ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการรักษาและต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวังน้ำเขียว รวมไปถึงผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภท ซึ่งครอบคลุมกลุ่มประเภทผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยทั่วไป
  • ผู้ป่วยประกันสังคม
  • ผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพของโรงพยาบาลอื่นๆ (บัตร 30 บาท)
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลวังน้ำเขียว

กลุ่มงานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวังน้ำเขียว ให้บริการผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการฉุกเฉิน (Emergency Case) ที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีเหตุจำเป็นให้เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่มีนัดหมายเข้ารับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อการรักษาจากโรงพยาบาลอื่น (Refer)

การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

1.การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
2. เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
3. สิทธิผู้ป่วยใน
4. ประเภทห้องพักและราคา

Loading